วัดหนองไม้ไผ้ |
ขอเชิญร่วมพิธีพุทธาภิเษกเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์พระปฐม (ปางชนะมาร)
28 ก.พ.-1 มี.ค.61
วัดหนองไม้ไผ้ ต.หนองไม้ไผ่ อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา
มีมหรสพตลอดงาน
งานยกชอฟ้าอุโบสถ ณ วัดบุใหญ่ |
นมัสการพระบรมธาตุนาดูน |
นมัสการพระธาตุพนม |
วัดป่าจิตสามัคคี |
วัดขามทะเลสอ |
วัดบ้านปูน |
วัดพระธาตุโป่งดินสอ |
วัดพระธาตุโป่งดินสอ |
ขอเชิญเที่ยวงาน นมัสการพระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุโป่งดินสอ ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ชมมหรสสมโภช ตลอด 5 คืน 7-8-9-10-11 กุมภาพันธ์ 2561
วันที่ 7-8 คอนเสิร์ตเบียร์ช้าง
วันที่ 9 ลำใย
วันที่ 10 เด่นชัยแพรวพราว
วันที่ 11 รัตนศีลป์
ขอฝากประชาสัมพันธ์งานวัดพระธาตุโป่งดินสอพร้อมเปิดวังพญานาคและพิธีแห่พระอุปคุตใกล้ ถึงนี้ ใครกดไลส์ กดแช่ร์ ขอให้มีแต่ความสุขความเจริญ ร่ำรวย มีโชคลาภ
ที่มา เพจ วัดพระธาตุโป่งดินสอ
ประวัติพญานาค
ยุคเริ่มต้น
ยังมีพญานาคราชสองตัวเป็นมิตรสหายกัน อาศัยอยู่ที่หนองแส ตัวหนึ่งชื่อ พินทะโย- นาควัตตี เป็นใหญ่อยู่หัวหนอง อีกตัวหนึ่งชื่อ ทะนะมูลนาค เป็นใหญ่อยู่ท้ายหนอง กับหลาน ชื่อว่า ชีวายนาค พญานาคราชทั้งสองให้สัตย์ต่อกันว่า ถ้าหากมีสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งตกมาที่หัวหนอง หรือท้ายหนองก็ตาม พญานาคราชทั้งสองจะเอาเนื้อสัตว์เหล่านั้นมาแบ่งปันกันในสัดส่วนที่เท่าเทียมกันเพื่อเลี้ยงชีวิต วันหนึ่งพญานาคราชทั้งสองเกิดทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงด้วยเรื่องแบ่งอาหาร เนื่องจาก ทะนะมูลนาคที่ได้แบ่งเนื้อแม่นไปนั้น ครั้นบริโภคแล้วรู้สึกไม่อิ่ม และเห็นว่าขนแม่นนั้นมีขนาดใหญ่กว่าขนช้างที่ตนเคยแบ่งให้พินทะโยนาควัตตีเสียอีก จึงคิดว่าพินทะโยนาควัตตีนั้นผิดความสัตย์ พญานาคราชทั้งสองกอดรัดฟัดเหวี่ยงกันจนน้ำขุ่นไปทั้งหนอง สัตว์น้อยใหญ่ต่างล้มตาย เทวดา ผู้รักษาหนองแสห้ามไม่ฟัง ร้อนถึงพระอินทร์ต้องส่งท้าวจาตุโลกบาลลงมาไล่นาคทั้งสามนั้น ออกจากหนองแส ทำให้พญานาคอื่นๆ ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นด้วย โดยระหว่างทางก็เอาอกไถขุดคุ้ยดินจนลึกเป็นร่องกลายเป็นแม่น้ำคลองหลายสาย แม่น้ำที่เกิดจากการเอาอกไถดิน ของชีวายนาคนั้น เรียกว่า “อุรังคที” (แม่น้ำอู) ส่วนพินทะ โยนาควัตตีนั้น ขุดไถจนเป็นแม่นน้ำถึงเมืองเชียงใหม่ และสร้างเมืองใหม่ที่นั่น แม่น้ำนั้นจึงเรียกว่า “แม่น้ำพิง” และเมืองที่สร้าง ขึ้นใหม่นั้น เรียกชื่อว่า “เมืองโยนาควัตตีนคร” (โยนกนาควัตตี) ตามชื่อนาคนั้น ทะนะมูลนาค และชีวายนาคผู้หลานยังคงขุดคุ้ยควักพื้นดินเป็นแม่น้ำมาสู่ตีนดอย นันทะกังฮี จนถึงเมืองสีโคตรบอง และอาศัยอยู่ที่นั้น
ส่วนที่หนองแสนั้น บรรดาสัตว์ทั้งหลาย พากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกผีทั้งหลายเห็นก็พากันมาชุมนุมกินสัตว์ที่ตายอยู่ที่นั่น ทำให้พญานาคราชทั้งหลาย ได้แก่ สุวัณณนาค กุทโธปาปนาค ปัพพารนาค สุกขหัตถีนาค สีสัตตนาค และ ถหัตถีนาค อยู่ในหนองน้ำไม่ได้เพราะน้ำขุ่นเน่าเหม็นไปทั่ว ต้องหนีออกไปตามแม่น้ำอุรังคนที เที่ยวแสวงหาที่อยู่เพื่อหนีพวกผีสางทั้งหลายนั้น ส่วนพญานาคราชและเงือกงูทั้งหลาย ก็ยอมมาเป็นบริวารของพญานันทกังฮีสุวัณณนาค และก็พากันอาศัยอยู่ที่ภูกูเวียน ภูนั้นจึงได้ ชื่อว่าภูกูเวียน ส่วนพุทโธปาปะนาค นั้นก็คุ้ยควักแต่ที่นั่นไปเกลื่อนพังทลายเป็นหนองบัวบาน แล้วก็อยู่ที่นั่น ส่วนปัพพารนาคคุ้ยควักหนีไปอยู่ที่ภูหลวง นอกจากนั้นพญานาคราชตัวใดปรารถนา จะอยู่ที่ใดก็อยู่ไป ณ ที่นั่น ส่วนเงือกงูทั้งหลายก็อยู่เป็นบริวารน้ำสายหนึ่งมีชื่อว่า “แม่น้ำงึม” หรือ “แม่น้ำเงือกงู”สุกขรนาคและหัตถีนาค อาศัยอยู่เวินสุก ส่วนทะนะมูลนาคผู้อาศัยอยู่เมืองศรีโคตรบอง ก็คุ้ยควักร่องจากนั้นลงไปจนถึงเมืองอินทปัตถะนคร จนถึงแม่น้ำสมุทรร่องนี้เรียกว่า น้ำลี่ผี แม่น้ำที่เป็นที่อยู่ของทะนะมูลนาคนั้นก็ไหลท่วมเป็นแกว่ง ดังนั้น ทะนะมูลนาค จึงควักคุ้ยให้เป็นร่องจนถึงเมืองกุลุนทนคร ร่องน้ำนี้มีชื่อว่า มุนละนที (แม่นน้ำมูล) ตามชื่อ พญานาคราชนั้น ส่วนชีวายนาคนั้นได้คุ้ยควักจากแม่น้ำมูลออกไปเป็นแม่น้ำอ้อมเมืองพระยา สมุทรอุทกที่กินเมืองหนองหานหลวง พร้อมทั้งขุนขอมนครหนองหารน้อย ตลอดขึ้นไปถึง เมืองกุรุนทนคร แต่นั้นมาแม่น้ำนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า “แม่น้ำชีวายนที” หรือ “แม่น้ำชี” ใน “นิทานอุรังคธาตุ” ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของพญานาคราช ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณ หนองแส ต่อมาได้อพยพมาอาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้ำโขง โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำโขงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย การอพยพลงมาโดยการไถ คุ้ย ควัก ดินให้เป็นร่องน้ำนั้น ทำให้เป็นที่มาของชื่อแม่น้ำสำคัญหลายสายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ดังจะเห็นได้ว่าชื่อแม่น้ำเหล่านั้นถูกเรียกจากชื่อ ของพญานาคเหล่านั้น
ที่มา เพจ วัดพระธาตุโป่งดินสอ 30 สิงหาคม 2017
ยุคกลาง
ในสถานที่แห่งนี้ (วังพญานาควัดโป่งดินสอ) เป็นที่อยู่ของพญาทะนะมูลนาคราช ซึ่งเป็นใหญ่แต่ปากแม่น้ำโขงมาถึงต้นแม่น้ำมุลแทยเทือกเขาดงพญาไฟทั้งหมด โดยเกพาะที่แห่ง่นี้ (วัยพญานาควัดพระธาตุโป่งดินสอ) เป็นที่จำศีลบำเพ็ญตนของปู่เจ้าทะนะมูลนาคราช ท่านชอบความสงบร่มเย็นและมีคำอธิฐานบารมีที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ในชาติเบื้องหน้าในสมัยของพระศรีอริยะเมตตาโครพุทธเจ้า จำต้องบำเพ็ญบารมีให้มากอย่างยิ่งยวด สถานที่แห่งนี้จึงเป็นสถานที่ที่ท่านเลือกในการบำเพ็ญบารมี เพราะมีถ้ำเพียงดินเชื่อมต่อกับเมืองบาดาลของท่าน แต่เก่าก่อนท่านก็อยู่มาอย่างเป็นสุขด้วยการบำเพ็ญ ต่อมามีเจ้าชายองค์หนึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าผู้ครองนครวิมายะปุระ ซึ่งต่อมาได้ไปปกครองดินแดนกัมพูชาในอดีตที่เรียกว่า อาณาจักรขอมโบราณ มีพระนามว่าพระชัยรามันที 7 เมื่อครั้งที่พระเจ้าชัยวระมันที่ 7 ยังเป็นพระโอรสหนุ่มนั้น เมืองวิมายะบุระจะต้องส่งบรรณาการแก่เมืองพระนคร (อินทรปัตหรือเมือง ยะโสทระปุร ปัจจุบันคือดินแดนกัมพูชาในส่วนนครวันนครทม) บรรณาการนั้นเป็นช้างปีละ 100 เชือก เพื่อนำไปใช้ในศึกสงครามและการสร้างปราสาทต่างๆ เจ้าชายน้อยซึ่งมีอายุประมาณ 15-18 ปี เป็นหัวหน้านำไพร่พลมาตั้งเพนียดช้างที่ฝั่งตะวันตกอขงเม่น้ำมูล ซึ่งเป็นที่ราบสูงที่ทุ้งหญ้าและดินดโป่งเป็นที่ต้องการของสัตว์ป่าต่างๆ มาหากินเป็นประจำ รวมทั้งช้างป่าแห่งดงพญาไฟด้วย บริเวณที่ตั้งพะเนียดช้างนี้ก็คือบริเวณใกล้กับวังพญานาคนี้เอง
เมื่อตั้งเพนียดแล้วก็ให้ทหารออกไปตักน้ำที่ไหลออกจากถ้ำเพียงดินที่เป็นที่บำเพ็ญของพญานาคราช นามว่า ทะนะมูลละนาคราช เมื่อทหารไพร่พบไปตักเอาน้ำก็ได้ลงเล่นน้ำทหให้เกิดเสียงดังและน้ำนั้นก็ขุ่นข้นเป็นการรบกยนการบำเพ็ญตนของพญาทะนะมูลนาคราช จึงเกิดความโกรธ จึงออกมาอาละวาททำร้ายเหล่าทหารของพระเจ้าชัยรามันให้เกรงกลัวหลบหนีไป เพื่อจะไม่ได้มารบกวนการบำเพ็ญของตนต่อไป เมื่อทหารได้กลับมาแจ้งเจ้าชาย (พระเจ้าชัยรามัน) โดยไม่ได้ทูลความจริงทั้งหมด พระเจ้าชัยรามันจึงมีความคิดที่จะปราบพญานาคราชนั้น โดยการช่วยเหลื่อของมหาราชครูพราห์ม 4 คน ที่เป็นราชครูติดตามพระเจ้าชัยรามัน โดยบอกให้พระเจ้าชัยรามันผู้มีบุญบารมีมากในภายหน้ามีพระแสงขันธ์ชัยศรีติดตัวมาเป็รพระแสงคู่บารมี ในตำนานกล่าวว่าเป็นพระแสงยัธ์ที่อระอินทร์มอบให้แก่ผู้จะเป็นกษัตริย์จักรพรรดิ์ราชในภายหน้า พระแสงขันธ์นี้จึงมีฤทธิ์ธานุภาพมากพร้อมกับมนต์อารัมพาที่พราห์มได้นำมาแต่ประเทศอินเดียเป็นมนต์ในการปราบพญานาค ทำให้พระเจ้าชัยรามันมีบารมีความสามารถในการปราบพญาทะนุมูลนาคราชได้ เมื่อสู้รบกันแล้วพญานาคยอมแพ้ พระเจ้าชัยรามันซึ่งนับถือในพระพุทธศาสราอยู่แล้ว จึงมีการตกลงกันแบบเป็นคำสาบาน ซึ่งให้ไว้แก่กันและกัน พระเจ้าชัยรามันสาปพญานาคราชว่า เจ้าจงกลับไปอยู่ในถ้ำเพียงดินปากปล่องของเมืองบาดาลบำเพ็ญตนจนกว่าจะมีพระอารามหรือวัดเกิดขึ้นในบริเวณนี้
เมื่อนั้นเจ้าจะออกมาได้ โดยต้องมีพระเถระผู้มีบุญมาทำการปลดปล่อยเจ้าออกจากถ้ำแห่งนี้ เมื่อออกมาได้แล้วเจ้าต้องคอยดูแลอารามแห่งนี้ด้วย และจงได้ดลบันดาลให้มีผู้มีบุญมาสร้างพระธาตุเจดีย์ประดิษฐสถานไว้ ณ พระธาตุเจดีย์แห่งนี้ เมื่อนั้นเจ้าจะเป็นอิสรภาพจากคำสาปของเรา และได้ขึ้นมาชมโลกและไปในสถานที่แห่งใดๆ ก็ได้ตามใจเจ้า และเจ้าควรที่จะอยู่คอยปกปักรักษาพระธาตุเจดีย์ และพระมหาเถระในอารามแห่งนี้ด้วย บุญที่จะได้กระทำในภายหน้านั้นกับความดีของเจ้าที่คอยปกปักรักษาชาวพุทธบริษัทจะส่งเสริมให้เจ้ามีบุญอานุภาพมากจะได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ในศาสนาของพระศรีอริยะเมตไตย และเป็นสาวกของพระองค์ท่านจนตราบเข้านิพพาน และพญาทะนะมูละนาคราชก็ได้สาปพระเจ้าชัยรามันด้วยเช่นกัน คำสาปมีว่า ให้องกษัตริย์นี้จงพลัดพรากจากบ้านเมืองไปเป็นใหญ่ในดินแดนอื่นและให้มีมเหสีเป็นนางนาคี หากมีความซื่อสัตว์ในความรักและมีศีลธรรมของพระองค์จงเจริญและเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในสุวรรณภูมินี้ หากท่านไม่รักษาสัจจะและศีลธรรม อาณาจักรของท่านจะเจริญได้เพียง 32 ชั่วคนเท่านั้น และลูกหลานของท่านจะฆ่าฟันแย่งชิงสมบัติกันเองทให้บ้านเมือง อาณาจักรของท่านล้มสะลาย และให้ท่านจงเป็นโรคท้าวแสนปมในช่วงบันปลายชีวิตของท่าน เพราะท่านได้ทำร้ายเราด้วยพระแสงขันธ์ชัยศรี และมนต์อารัมพราย ทำให้เราได้รับบาดเจ็บที่ปากเรา และท่านได้สาปเราเกินกว่าเหตุ อาณาจักรของท่านจะเจริญและรุ่งเรืองก็แค่ยุคของท่าน หลังจากนั้นดินแดนของท่านจะตกอยู่ใต้อาณาจักของแผ่นดินที่เราอยู่อาศัยนี้ มีนามว่า สยามประเทศ (ประเทศไทย) เพราะท่านทำร้ายเราผู้มีศีล จากนั้นพญาทะนะมูลนาคราชก็เข้าไปอยู่ในถ้ำเพียงดินแห่งนี้ ปากถ้ำก็ถล่มลงปิดปากถ้ำจนเกือบสนิท มีแค่ทางน้ำไหลออกมาจากเมืองบาดาลเพื่อใช้เป็นน้ำหล่อเลี้ยงสัพชีวิตสัตว์ต่างๆ มาจนถึงทุกวันนี้
ที่มา เพจ วัดพระธาตุโป่งดินสอ 31 สิงหาคม 2017
ประวัติวัดพระธาตุโป่งดินสอ
ประวัติวัดโปร่งดินสอ วัดโปร่งดินสอ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นชุมชนเล็กๆ แต่ชาวบ้านมีความศรัทธาสูง มีความรักความสมานสามัคคีเป็นหมู่บ้านที่ รักในศีลธรรม ได้ไปอาราธนานิมนต์ ท่านพระมหา ด.ร พรชัย วิชโย ( หรือครูบาพรชัย ) มาสร้าง วัดตามคำทำนายของนักปราชญ์ท่านหนึ่งว่าภายหน้าวัดแห่งนี้จะมีพระผู้มีบุญมีบารมี อายุไม่มาก ตัวเล็กผิวขาว มีนามในชื่อหรือมีคำนำหน้าว่า ( ชัย ) เป็นผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมี ศีลมีธรรม มีลูกศิษย์นับถือมาก หากพบที่ใดก็ให้ไปนิมนต์มาสร้างวัด แล้วจะทำให้วัดโปร่งดินสอ ชอบป่าเขาต้นไม้มากประกอบกับวัดโปร่งดินสอซึ่งมีต้นไม้มากจึงถูกต้องถูกใจท่าน ทีแรกท่านไม่คิดจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ แต่มีลูกศิษย์ได้ไปนิมนต์ท่านมาปักกรดธุดงค์ในที่ใกล้ กับวัดซึ่งเป็นลำห้วยน้ำที่ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือเหมือนแม่น้ำเนรัญชลาที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ ประเทศอินเดีย มีตำนานล่ำลือกันว่าที่แห่งนี้มีพญานาคอยู่ในถ้ำใต้ดิน เป็นถ้ำดินเพียงปล่อยน้ำซับ เป็นแหล่งน้ำที่คนแต่โบราณใช้ดื่มกันแต่ปล่อยทิ้งล้างมานานแสนนาน เป็นป่าปกคลุมหนาทึบไม่มี ใครกล้าเข้าไปใกล้บริเวณนั้นเลย
เมื่อท่านพระอาจารย์พรชัย ทราบเรื่องจึงเป็นที่เหมาะสมที่มาปัก กรดธุดงค์บำเพ็ญบารมีจึงเดินทางมา ก่อนที่จะได้ไปถึงที่แห่งนี้ก็ต้องผ่านวัดโปร่งดินสอเสียก่อน ท่านได้แวะพักที่วัดโปร่งดินสอหนึ่งคืน แล้วจึงไปปักกรดต่อที่ถ้ำ พญานาค แล้วเกิดนิมิตเห็น พญานาค มาเฝ้ามาหาได้สนทนากันถามไถ่กันที่ถ้ำพญานาค ตามปกติแล้วพญานาคเฝ้าถ้ำนี้ก็ได้ อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มาอยู่ที่วัดโปร่งดินสอแต่พระอาจารย์ก็บอกปฏิเสธ บอกว่ามาไม่ได้ เพราะกำลังสร้างพระธาตุเจดีย์แต่พญานาคก็ได้เชิญให้มาสร้างวัดโปร่งดินสอนี้เพราะที่นี่เหมาะ ที่สุด ที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์จะมีคนมากราบไหว้มากมายพระอาจารย์พรชัย ก็บอกว่าจะสร้างได้ อย่างไรเพราะไม่รู้จักใครเลยแถวนี้ พญานาคก็บอกว่าไม่เป็นไร เดียวจะพาเหล่าพญานาค คนที่นับ ถือพญานาคมาร่วมสร้างให้ท่านก็ไม่ตอบรับ จนกระทั่งได้ส่งลูกศิษย์ของท่านมาอยู่แทนถึงสองรุ่นก็ ไม่สามารถทำให้วัดโปร่งดินสอนี้เจริญขึ้นได้ คืออยู่ไม่ได้เพราะลำบากมากต้องใช้บารมีมากจีงอยู่ได้ เพราะกันดารมากจนวัดนี้จะร้าง ชาวบ้านจึงประชุมกันเห็นควรไปนิมนต์พระอาจารย์พรชัยมาอยู่จำพรรษาที่วัดโปร่งดินสอโดยพากันไปนิมนต์กันเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ใหญ่บ้านชาวบ้านท่านก็ รับปากแล้วย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดโปร่งดินสอตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2554 เป็นต้นมา ท่านได้มาสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองและหล่อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นเพื่อเป็นมิ่งมงคลแก่วัด มีนามว่า หลวงพ่อ พระพุทธวิชยะมุนีศรีทศพลญาณ ( หรือ หลวงพ่อศรีมหาลาภ )
แต่นั้นมาวัดก็มีความเจริญ อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ท่านมานี้ในครั้งแรก ท่านก็ดำริอยากสร้างพระธาตุเจดีย์ องค์เล็กๆ ขึ้นซักองค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ท่านได้จากครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน จนท่านได้เริ่มว่างศิลาฤกษ์ สร้างเจดีย์ ในวันที่ 17 ก.พ. 2557 ท่านก็ได้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดไทยพุทธคชาประเทศอินเดียมาเพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์ การอัญเชิญก็เป็นไปได้ด้วยดีการก่อสร้างก็ดำเนินการ ตามลำดับตามปัจจัยที่มีเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งได้กลุ่มญาติโยม ทั้งทหาร ข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้าประชาชน มาระดมทุนทรัพย์การสร้างจนแล้วเสร็จในปี 2560 นี้ ท่านมีความตั้งใจเป็นอย่างมากในการสร้างเจดีย์ ถึงกับอธิฐานจิตว่า ในชีวิตนี้ขอให้ได้สร้าง พระธาตุเจดีย์สักองค์ หากแม้สร้างเสร็จจะมรณภาพในวันฉลองก็จะไม่เสียใจ หากมรณภาพ ก่อสร้างเสร็จก็ให้เอาอัฐิผสมดินปนเป็นอิฐก่อพระธาตุด้วย ท่านสั่งเสียไว้แค่นี้ แสดงถึงจิตอันมี ศรัทธามหาศาล จนท่าน พล.ต สนทยา ฯ ได้รับรู้ว่าพระอาจารย์ไม่สบายอยู่ และก็เห็นถึงความ ตั้งใจของพระอาจารย์ จึงเกิดศรัทธามาเป็นผู้ระดมทุนปัจจัยและคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ พระธาตุเจดีย์นี้ เป็นพระธาตุแช้แห้ง ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิด ปีเถาะตรงกับพระธาตุ ประจำปีพระสูตรกษัตรของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงเป็นแรงบันดาลใจเป็นอย่างมากที่จะสร้าง พระธาตุนี้เพื่ออุทิศถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่วัดโปร่งดินสอ บ้านโปร่งดินสอ ตำบลโคกกรวด อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
เจ้าอาวาสวัดรูปปัจจุบัน คือ พระมหา ดร. พรชัย วิชโย มีสามเณรจำพรรษาปัจจุบัน 10 รูป มีพื้นที่ 9 ไร่ อยู่ห่างจากถนนมิตรภาพแยกไม้ดอกไม้ประดับ ตำบลโครกกรวด 4 กม. ใกล้กับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารีทางไปพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน - เป็นวัด สังกัด มหานิกาย – สิ่งสำคัญประจำวัด 1. หลวงพ่อพรรศรีมหาลาภ ( พระพุทธวิชยะมุนีศรีทศพลญาญาณ) 2, มณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลอง 3. รูปปั้นย่าโม ปางนั่งสุขสบาย 4. พระธาตุเจดีย์ประจำปีเถาะถวาย ในหลวงรัชกาลที่ 9 5. มีต้นไม่ร่มรื่นเหมาะเป็นที่ปฏิบัติธรรม 6. พระเณรชอบจำพรรษาอยู่ปฏิบัติธรรมศึกษาเล่าเรียน 7. ญาติโยมชอบมาสนทนาธรรมกับท่านครูบาพรชัย เจ้าอาวาส ท่านช่วยสั่งสอนธรรมะเพื่ออุทิศถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่วัดโปร่งดินสอ บ้านโปร่งดินสอ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดรูปปัจจุบัน คือ พระมหา ดร. พรชัย วิชโย – มีสามเณรจำพรรษาปัจจุบัน 10 รูป - มีพื้นที่ 9 ไร่ - ห่างจากถนนมิตรภาพแยกไม้ดอกไม้ประดับ ตำบลโครกกรวด 4 กม. ใกล้กับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารีทางไปพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน - เป็นวัด สังกัด มหานิกาย – สิ่งสำคัญประจำวัด 1. หลวงพ่อพรรศรีมหาลาภ ( พระพุทธวิชยะมุนีศรีทศพลญาญาณ) 2, มณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลอง 3. รูปปั้นย่าโม ปางนั่งสุขสบาย 4. พระธาตุเจดีย์ประจำปีเถาะถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 5. มีต้นไม่ร่มรื่นเหมาะเป็นที่ปฏิบัติธรรม 6. พระเณรชอบจำพรรษาอยู่ปฏิบัติธรรมศึกษาเล่าเรียน 7. ญาติโยมชอบมาสนทนาธรรมกับท่านครูบาพรชัย เจ้าอาวาส ท่านช่วยสั่งสอนธรรมะ
ที่มา เพจ วัดพระธาตุโป่งดินสอ 28 สิงหาคม 2017 |